ชุดที่ 2

ชุดที่ 2



วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้   ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช                                              
                             

           คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง ข้อ 1-4 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
   ที่ไม่เป็นจริง
………P …… 1. ผู้ออกแบบการสอนควรเลือกใช้สื่อที่ช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
     และความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
……… χ …… 2. Jean Piaget (1963) เป็นผู้นำเสนอแนวคิดทางพุทธิปัญญา (Cognitive Theories) มาใช้ในการออกแบบการสอน
     โดยมีแนวคิดหลักคือ ศึกษาความเข้าใจ (Understand) ที่เกิดขึ้นในจิตใจ (Mind)
…… χ ……… 3. ไทเลอร์ (Raph W. Tyler) ได้ตั้งคำถามพื้นฐาน 3 ประการของรูปแบบการออกแบบการสอนที่เขาได้พัฒนาขึ้น คือ  
               1เรากำลังจะไปไหน (อะไรคือเป้าหมายของการเรียนการสอน)”, 2) เราจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร (อะไรคือ    
     กลยุทธ์และสื่อกลาง) และ 3) เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว (เครื่องมือการประเมินเป็นอย่างไร)
....... χ........ 4. ในการออกแบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบการสอนควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมกระบวนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่ากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

คำชี้แจง : ข้อ 5-8 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 
5. ขั้นตอนการออกแบบการสอนตามแนวคิดของ ADDIE MODEL มีกี่ขั้นตอน? และมีขั้นตอนอะไรบ้าง? 
ก. 4 ขั้นตอน คือ Analysis, Design, Development, Evaluation
ข. 5 ขั้นตอน คือ Analysis, Development, Design, Improvement, Evaluation
 ค. 5 ขั้นตอน คือ Analysis, Development, Design, Implementation, Evaluation
ง. 5 ขั้นตอน คือ Analysis, Design, Development, Improvement, Evaluation
จ. 5 ขั้นตอน คือ Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation

6. ข้อใด ไม่ใช่ กิจกรรมในขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ของการออกแบบการสอนตามแนวคิด ADDIE MODEL 
ก. การวิเคราะห์ระบบ สิ่งแวดล้อม และสภาพขององค์กร เพื่อพิจารณาถึงทรัพยากรและอุปสรรค
ข. การศึกษาลักษณะของกลุ่มประชากร
ค. การคัดเลือกสื่อการเรียนการสอน
ง. การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม
จ. การวิเคราะห์เป้าหมายและจุดประสงค์ว่าเป็นการเรียนรู้ในลักษณะใด เช่น การเรียนรู้ เนื้อหา การเรียนรู้ทักษะ เป็นต้น

7. ข้อใดกล่าว ถูกต้อง เกี่ยวกับการออกแบบการสอนตามแนวคิดของคอนสตัคติวิสต์ (Constructivist) 
ก. แนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับการสร้างการเรียนรู้ (Learning Constructed) โดยเป็นการที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำจากตัว
    ผู้เรียนเองเป็นอย่างมาก 
ข. รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Co-operative Learning) ไม่ควรนำมาใช้ในการออกแบบการสอนตามแนวคอน
    สตัคติวิสต์เนื่องจากต้องเป็นรูปแบบการสอนที่การสร้างความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น 
ค. แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Robert Gagne (1896 - 1980) และทฤษฏี 
    Cognitivism ของ David Ausubel. (1963)
ง. ปัจจุบันแนวคิดนี้ไม่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการและนักออกแบบการสอนทั่วโลกเนื่องจากว่าความเจริญทางเทคโนโลยี
   สามารถช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากขึ้น ทำให้นักการศึกษามุ่งความสนใจไปยังการพัฒนาสื่อการสอนให้ทันสมัย
   มากกว่าการออกแบบการสอน  
จ. ถูกทั้งข้อ ก และ ค  

8. ข้อใดกล่าวถึงบทบาท และสมรรถภาพของผู้ออกแบบการสอน 
ก. ทักษะในการสกัดและดูดซึมสารสนเทศ เป็นอีกทักษะหนึ่งที่จำเป็นในการปฏิบัติการของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
ข. ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม
ค. บทบาทของผู้ออกแบบการสอนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีเนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจำเป็นต้องมีคำแนะนำ
   ในการออกแบบจากผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา (content expert)
ง. ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีกระบวนการทางเชาว์ปัญญาทางความคิดในระดับสูง
จ. ถูกทุกข้อ 

คำชี้แจง ข้อ 9-10 จงอ่านบทความต่อไปนี้

เราต่างทราบกันดีว่า ปัญหาหลักของการออกแบบการสอนมีหลายประการ ดังเช่น 
1)  ปัญหาด้านทิศทาง (Direction                 
2) ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation) 
3) ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content  and  Sequence) 
4. ปัญหาด้านวิธีการ  (Method) 
5) ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ  (Constraint) เป็นต้น

9. จงอธิบายปัญหาหลักของการออกแบบการสอน จำนวน 2 หัวข้อ
1. ปัญหาด้านเนื้อหาและการเรียงลำดับเนื้อหา หาเนื้อไม่ครบทุกด้านและเนื้อหาเยอะเกินไปจนเรียงไม่ถูก
2. วิธีการ ไม่รู้จะใช้วิธีใดให้เหใสมกับเนื้อหาที่จะสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสอน
10. ท่านคิดว่า ปัญหาหลักของการออกแบบการสอน ปัญหาด้านใดที่ส่งผลด้านลบต่อนักเรียนไทยมากที่สุด (จากข้อ 7) เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ด้านเนื้อหา หากครูมีเนื้อหา หรือข้อมูลที่ไม่เพื่อพอและไม่ถูกต้องอาจจะทำให้นักเรียนรับข้อมูลไม่ครบและยังรับข้อมูลที่ผิดพลาด

ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุกัญญา  แสนสุโพธิ์ รหัสนักศึกษา 593150310856
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 3


*คำคมฝากคิด “Stay Hungry, Stay Foolish”
       -Steve Jobs-

       “จงกระหาย และ ทำตัวให้โง่ตลอดเวลา
       #สตีฟ จอบส์- (ผู้นำธุรกิจและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น