7. ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้

7. ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้


ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
               การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการคือ ประการแรกความสามารถของผู้เรียน
ประการที่สองระดับของแรงจูงใจ และ ประการสุดท้ายธรรมชาติของภาระงานการเรียนรู้มีขบวนการ ดังนี้ คือ
1. แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย
2. เป้าประสงค์ทำให้มีความสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน
3. ผู้เรียนแสวงหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา        
4. ผลของความก้าวหน้าจากการเลือกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด
5. การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
จิตพิสัย
 การเรียนรู้ทางเจคติพาดพิงถึงคุณลักษณะอาการของอารมณ์การเรียนรู้เกี่ยวข้องการว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้รู้สึกอย่างไรกับการเรียนรู้กับตนเองและเป็นการพิจารณาความสนใจความซาบซึ้ง เจ คติค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน
 ทักษะพิสัย
เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทักษะทางประสาทและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กันในการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็จะเกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการคล่องแคล่วการเคลื่อนไหวอย่างไรเมื่อเด็กได้รับความคิดว่าต้องการอะไรและมีทักษะที่ต้องมีก่อนมีความแข็งแรงและวุฒิภาวะ และอื่นๆ
 สังคมพิสัย
ที่ใสมีความใกล้เคียงและสัมพันธ์กับจิตพิสัยและเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคลและทักษะการปฏิบัติสัมพันธ์ทางสังคม ซิงเกอร์และคิดได้สรุปสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสังคมที่ใส่ไว้ 4 ประการดังนี้คือประการแรกความประพฤติการปฏิบัติ ประการที่ 2 ความมั่นคงทางอารมณ์ประการที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและประการสุดท้ายการรู้จักเติมเต็มตนให้สมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น