หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน



เพิ่มวิสัยทัศน์หลักสูตร :
            เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนตรงกันในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ

เพิ่มสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน :
 ความสามารถในการสื่อสาร
 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
 ทักษะการแก้ปัญหา
 ทักษะชีวิต
 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ปรับปรุงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เป็นอยู่พอเพียง รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ

ปรับ ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นตัวชี้วัดชั้นปี 

 ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ จะช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ และมีความชัดเจนในการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา

กำหนดสาระการ เรียนรู้แกนกลาง 

กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง ซึ่งเป็นจุดร่วมที่ผู้เรียนให้ทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรียนรู้ ช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนในชาติมากขึ้น


ปรับ โครงสร้างเวลาเรียน 

กำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำในแต่ละปีไว้ โดยเปิดช่องให้สถานศึกษาสามารถกำหนดปรับเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้การจัดหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้เรียนในระดับชั้นต่างๆ และในกลุ่มสาระต่างๆ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาผู้เรียน มากขึ้น

  ปรับเกณฑ์การวัดประเมินผล 

ระดับประถมศึกษา (ป.1-ป.6) ยังคงตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีเช่นเดิม แต่ระดับมัธยมศึกษ
าตอนต้น ได้เปลี่ยนเป็นการตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค ให้สอดคล้องกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อรองรับระบบหน่วยกิต และกำหนดให้การบริการสังคม (Community Service) เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และต้องได้รับการประเมินผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม



การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ ได้แก่
1.ระดับประถมศึกษา(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะ
พื้นฐานด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร
2.   ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นให้
ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด และความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน         
3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้น   การเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน


วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ



จุดหมาย
1. มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  
              2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา  การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต 
  3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
          4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ   การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 
              5.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข 



คุณลักษณะอันพึงประสงค์
     1. รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
     2. ซื่อสัตย์สุจริต         
     3. มีวินัย
     4. ใฝ่เรียนรู้                   
     5. อยู่อย่างพอเพียง
     6. มุ่งมั่นในการทำงาน
     7. รักความเป็นไทย
      8. มีจิตสาธารณะ

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด   8  กลุ่มสาระการเรียนรู้                                                            
     1. ภาษาไทย     
     2. คณิตศาสตร์    
     3. วิทยาศาสตร์                              
     4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  
    5. สุขศึกษาและพลศึกษา     
     6.  ศิลปะ      
     7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี      
     8. ภาษาต่างประเทศ   
                                              
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้

                ๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

                ๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

                       ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น        ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

                ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

                 ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร 
การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ หลักสูตรใหม่กำหนดให้มี 8 กลุ่มสาระและ 67 มาตรฐาน คือ
ภาษาไทย (มี 5 สาระ 5 มาตรฐาน) 
คณิตศาสตร์ (มี 6 สาระ 14 มาตรฐาน) 
วิทยาศาสตร์ (มี 8 สาระ 13 มาตรฐาน) 
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มี 5 สาระ 11 มาตรฐาน) 
สุขศึกษาและพลศึกษา (มี 5 สาระ 6 มาตรฐาน)
ศิลปะ (มี 3 สาระ 6 มาตรฐาน) 
การงานอาชีพและเทคโนโลยี (มี 4 สาระ 4 มาตรฐาน) 
ภาษาต่างประเทศ (มี 4 สาระ 8 มาตรฐาน)
องค์ความรู้ ทักษะสำคัญและคุณลักษณะในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาษาไทย   :  ความรู้  ทักษะและวัฒนธรรมการใช้ภาษา  เพื่อการสื่อสาร   ความชื่นชม   
การเห็นคุณค่าภูมิปัญญา ไทย     และภูมิใจในภาษาประจำชาติ

ภาษาต่างประเทศ   :    ความรู้ทักษะ   และวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร  การแสวงหาความรู้
และการประกอบอาชีพ

วิทยาศาสตร์   :   การนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล  คิดวิเคราะห์ 
คิดสร้างสรรค์  และจิตวิทยาศาสตร์

สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  :    การอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข  การเป็นพลเมืองดี  ศรัทธาในหลักธรรมของศาสนา การเห็นคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความรักชาติ และภูมิใจในความเป็นไทย

สุขศึกษาและพลศึกษา   :   ความรู้ ทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยของตนเองและผู้อื่น  การป้องกันและปฏิบัติต่อสิ่งต่าง ๆ  ที่มีผลต่อสุขภาพอย่างถูกวิธีและ ทักษะในการดำเนินชีวิต

คณิตศาสตร์  :   การนำความรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา การดำเนินชีวิต  และศึกษาต่อ           การมีเหตุมีผล  มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์

ศิลปะ : ความรู้และทักษะในการคิดริเริ่ม  จินตนาการ สร้างสรรค์งานศิลปะ  สุนทรียภาพและการเห็นคุณค่าทางศิล


การงานอาชีพและเทคโนโลยี   : ความรู้  ทักษะ ในการทำงาน  การจัดการ              การดำรงชีวิต  การประกอบอาชีพ  และการใช้เทคโนโลยี

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


                กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ  พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม  มีระเบียบวินัย  ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการกระทำประโยชน์เพื่อสังคมสามารถจัดการตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข   กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3  ลักษณะดังนี้

กิจกรรมแนะแนว  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์
สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ  คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย  วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ  สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียนทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน

2. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัยความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

ความรับผิดชอบ  การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่  การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน  ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย

  • กิจกรรมลูกเสือ 
  • เนตรนารี 
  • ยุวกาชาด 
  • ผู้บำเพ็ญประโยชน์ 
  • และนักศึกษาวิชาทหาร
  •  กิจกรรมชุมนุม ชมรม

3.  กิจรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตน

ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ชุมชน  และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม  ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3   ปีละ 120  ชั่วโมง  และ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4-6 จำนวน  360  ชั่วโมงนั้น เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว  กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

      ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณประโยชน์  ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น    ( ม. 1- ม. 3) รวม 3 ปี            จำนวน 45  ชั่วโมง

                ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ( ม. 4- ม. )  รวม  3  ปี          จำนวน  60  ชั่วโมง


                เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน


การตัดสิน  การให้ระดับ  และการรายงานผลการเรียน
ในการตัดสินผลการเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นั้น ผู้สอนต้องคำนึงถึงกา

พัฒนาผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก  และต้องเก็บข้อมูลของผู้เรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอ  และต่อเนื่องในแต่ละภาคเรียน รวมทั้งสอนซ่อมเสริมผู้เรียนให้พัฒนาจนเต็มศักยภาพ

                        การประเมิน และ การให้ระดับผลการเรียน

                การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง  โดย

จะต้องพิจารณา  ทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็น   ผ่าน  และไม่ผ่าน โดยแต่ละกิจกรรมมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

   กิจกรรมแนะแนว

ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม  ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด
ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินสมรรถนะสำคัญ  5  ประการ
ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ประการ
ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )
                                                                 
                                                                    กิจกรรมนักเรียน

กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี  ยุวกาชาด  ผู้บำเพ็ญประโยชน์  และนักศึกษาวิชาทหาร

ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด
ต้องผ่านกิจกรรมอยู่ค่ายพักแรม หรือผ่านตามเกณฑ์การฝึกของนักศึกษาวิชาทหารปีละ  1  ครั้ง
ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินสรรถนะสำคัญ  5  ประการ
ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ประการ
 ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )

กิจกรรมชุมนุม ชมรม

ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม  คลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด
ต้องนำเสนอผลงานของชุมนุมหรือชมรม ปีละ 1  ครั้ง
ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินสมรรถนะสำคัญ  5  ประการ
ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  8  ประการ                                                               ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

1. ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ชุมชน และท้องถิ่น ตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ  เช่น

กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม  โดยจัดทำเป็นโครงการและรายงานผลภาคเรียนละ 1 ครั้ง  โดยยึดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน

2.ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด  (15  ชั่วโมง / ปี)

3. ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )

4. ผู้เรียนต้องมีเวลาทำกิจกรรมรวมจำนวน 45  ชั่วโมง ในระยะเวลา 3 ปี  ( ม. 1-3)


                        ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ชุมชนและท้องถิ่น ความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม  โดยจัดเป็นโครงการและรายงานผลภาคเรียนละ 1 ครั้ง  โดยยึดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน
 ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80  ของเวลาทำกิจกรรมทั้งหมด  (20  ชั่วโมง/ ปี)  
3.  ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน ผ่าน ทุกภาคเรียน  ( 6 ภาคเรียน )

4.  ผู้เรียนต้องมีเวลาทำกิจกรรมรวมจำนวน 60  ชั่วโมง ในระยะเวลา 3 ปี ( ม. 4-6)


                        การรายงานผลการเรียน

การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครอง และผู้เรียนทราบ

ความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ ๆ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง


2.เกณฑ์การจบหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์

         ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเรียนตามที่โรงเรียนกำหนดและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกกิจกรรม ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น