ทฤษฎีการเรียนรู้ของราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์
ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler)
ให้หลักการและเหตุผลในการสร้างหลักสูตรไว้ 4 ประการ ซึ่งเรียกว่า "Tyler's rationale" โดยเขาให้หลักเกณฑ์ไว้ว่าในการจัดหลักสูตรและการสอนนั้น ควรจะตอบคำถามที่เป็นพื้นฐาน 4 ประการ ไทเลอร์เน้นว่าคำถามจะต้องเรียงลำดับกันลงมา ดังนั้นการตั้งจุดมุ่งหมายจึงเป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของไทเลอร์
คำถามพื้นฐาน 4 ประการ
1.What is the purpose of the education? (มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะ แสวงหา)
2.What educational experiences will attain the purposes? (มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
3.How can these experiences be effectively organized? (จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)
4.How can we determine when the purposes are met? (จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
หลักการสร้างหลักสูตร
1. การวางแผนหลักสูตร (Planning)
2. การออกแบบหลักสูตร (Design)
3. การจัดการหลักสูตร (Organize)
4. การประเมินหลักสูตร (Evaluation)
คำถามพื้นฐาน 4 ประการ
หลักการสร้างหลักสูตร
What is the purpose of the education?
การวางแผนหลักสูตร (Planning)
What educational experiences will attain the purposes?
การออกแบบหลักสูตร (Design)
How can these experiences be effectively organized?
การจัดการหลักสูตร (Organize)
How can we determine when the purposes are met?
การประเมินหลักสูตร (Evaluation)
Tyler’s Model of Curriculum Development
โมเดลการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์นี้ ได้ดัดแปลงมาจากโมเดลของ Ornstein and Hunkin (1998) โดยได้นำคำถามที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำหลักสูตรของไทเลอร์ (สัญลักษณ์ Q) มากำกับในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามหลักการของไทเลอร์
การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึง การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน และการประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตรด้วย โดยรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์เริ่มจาก
Tentative Objectives เราต้องดูว่าจะสอนอะไรเด็กและจะเอาอะไรมาสอน ทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หรือSourcesแหล่งแรกคือสังคม ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม โครงสร้างที่สำคัญในสังคม และความมุ่งหวังทางสังคม แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการความสนใจความสามารถและคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ แหล่งที่สามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ
1) Subject matter หรือว่าผู้รู้ สำหรับผู้รู้ในสถานศึกษา ก็คือ โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคมที่พวกเราเลือกและเข้าไปสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษา ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อาจารย์ประจำวิชา และนักศึกษาฝึกสอน นอกจากนี้ Subject matter ยังรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา เช่น นักการ ภารโรง แม่ค้า ชาวบ้าน เป็นต้น
2) Learner คือด้านผู้เรียน เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านผู้เรียนก็เนื่องจากว่า
• เราจะพัฒนาความรู้ด้านพุทธิพิสัยหรือ cognitive domain ของเด็ก ได้แก่ ด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ และการประเมินค่า
• พัฒนาด้านภาษาศาสตร์ (linguistic)
• พัฒนาด้านจิตสังคม ปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะ
• พัฒนาด้านจิตพิสัย และคุณธรรม
• เน้นด้านอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต
3) Society คือด้านสังคม เกี่ยวข้องกับสถาบันทางสังคม จะครอบคลุมถึงครอบครัว ศาสนา และการศึกษา นอกจากนี้ยังมีเรื่องระบบการศึกษาไทยและแผนพัฒนาการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านสังคมก็เพราะว่าเราจะนำความรู้ไปพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียน ได้แก่ การอ่านออกเขียนได้ ทักษะด้านอาชีพ การจัดระเบียบทางสังคมและด้านคุณธรรม ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การถ่ายทอดค่านิยมทางความคิดและวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น