ทฤษฎีการเรียนกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)

ทฤษฎีการเรียนกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)

ทฤษฎีการเรียนกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)


 
                ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 โดยมีผู้นำกลุ่มคือ เวอร์ไธเมอร์ (Wertheimer) โคห์เลอร์ (Kohler) คอฟฟ์กา (Koffka) และเลวิน (Lewin)
ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป

กฎการเรียนรู้
                หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก ลักษณะคือ
                1. การรับรู้ (Perception) เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง ส่วนคือ
หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด ดังนั้นกลุ่ม
ของเกสตัลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยแบ่งเป็นกฎ ข้อ เรียกว่า กฎแห่งการจัดระเบียบ คือ
                  1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) การเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน
                  1.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน
                  1.3 กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน
                  1.4 กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
                  1.5 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพ
สมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
               2. การหยั่งเห็น (Insight) หมายถึง การเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใด ในขณะที่ประสบปัญหาโดยมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการ
มองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ ๆ ขึ้น โดยเกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่า
ได้ยินได้ค้นพบแล้ว ผู้เรียนจะมองเห็นช่องทางการแก้ปัญหาขึ้นได้ในทันทีทันใด
การทดลองกลุ่มเกสตัลท์ เพื่อที่จะได้เข้าใจวิธีการแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วย
           การทดลองที่แสดงการหยั่งเห็นในการเรียนรู้โคลเลอร์ได้ทดลองโดยการขังลิงชิมแพนซี ตัวหนึ่งไว้ในกรงที่ใหญ่พอที่ลิงจะอยู่ได้ภายในกรงมีไม้หลายท่อน มีลักษณะสั้นยาวต่างกันวางอยู่ นอกกรงเขาได้แขวนกล้วยไว้หวีหนึ่ง เกินกว่าที่ลิงจะเอื้อมหยิบได้ การใช้ท่อนไม้เหล่านั้น บางท่อน ก็สั้นเกินไปสอยกล้วยไม่ถึงเหมือนกัน มีบางท่อนยาวพอที่จะสอยกินกล้วยได้
  • การทดลองที่แสดงการหยั่งเห็นในการเรียนรู้ในขั้นแรก ลิงซิมแพนซีพยายามใช้มือเอื้อมหยิบกล้วย แต่ไม่สำเร็จ แม้ว่าจะได้ลองทำหลายครั้งเป็นเวลานาน มันก็หันไปมองรอบๆกรง เขย่ากรง ส่งเสียงร้อง และปีนป่าย แต่เมื่อไม่ได้ผล มันจึงหันมาลองจับไม้เล่น ใช้ไม้นั้นสอย กล้วยแต่ก็ไม่ได้ผล มันจึงหันมาลองจับไม้อันอื่นเล่นและใช้ไม้นั้นสอยกล้วย การกระทำเกิดขึ้นเร็วและสมบูรณ์ไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ในที่สุดมันก็สามารถใช้ไม้สอยกล้วยมากินได้
  • วิธีการที่ลิงใช้แก้ปัญหานี้ โคล์เลอร์เรียกพฤติกรรมนี้ว่าเป็น การหยั่งเห็น เป็นการมองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาโดยลิงชิมแพนซีได้มีการรับรู้ในความสัมพันธ์ระหว่างไม้สอย กล้วยที่แขวนอยู่ข้างนอกกรงและสามารถใช้ไม้นั้นสอยกล้วยได้เป็นการนำไปสู่เป้าหมาย
  •  กระบวนการแก้ปัญหาของลิงชิมแพนซี1. วิธีการแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นทันทีทันใด เหมือนความกระจ่างแจ้งในใจ2. การเรียนรู้การหยั่งเห็นเป็นการที่ผู้เรียนมองเห็นรับรู้ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ ไม่ใช่เป็นการตอบสนองของ สิ่งเร้าเพียงอย่างเดียว
  • กระบวนการแก้ปัญหาของลิงชิมแพนซี3. ความรู้เดิมของผู้เรียน ประสบการณ์ของผู้เรียนมีส่วน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการหยั่งเห็นในเหตุการณ์ที่ประกอบขึ้นเป็นปัญหาและช่วยให้ การหยั่งเห็นเกิดขึ้นเร็ว
การนำทฤษฎีนี้มาใช้ในการเรียนการสอน
  • ในการสอนครูควรจะให้ผู้เรียนมองเห็นโครงสร้าง ทั้งหมดของเรื่องที่จะสอนก่อน เพื่อให้เด็กเกิดการรับรู้ เป็นส่วนรวม แล้วจึงแยกส่วนออกมาสอนเป็นตอนๆ
  •  เน้นให้ผู้เรียนเรียนด้วยความเข้าใจมากกว่าเน้นการเรียน แบบท่องจำ การเรียนด้วยความเข้าใจต้องอาศัยสื่อที่ชัดเจนประกอบการเรียนและต้องเรียนด้วยการปฏิบัติจริง หรือผู้เรียนลงมือกระทำเอง ( Learning by Doing )
  •  ฝึกให้ผู้เรียนสามารถโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ที่เรียนไปแล้วกับความรู้ใหม่ว่ามีความแตกต่าง และคล้ายคลึงกันอย่างไรเพื่อช่วยให้จำได้นาน
  •  นำแนวคิดของทฤษฏีนี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ว่าควรทำความเข้าใจโดยมองปัญหาทุกแง่ทุกมุม ไม่ควรมองปัญหาโดยมีอคติ และใช้ความคิดอย่างมีเหตุมีผลในการแก้ปัญหา
  • นำไปใช้ในการทำความเข้าใจบุคคลว่า ควรมองเขาในภาพรวม ( The Whole Person ) คือ การศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ของบุคคลกับความมีเหตุผล ไม่ตัดสินความดีความชั่ว ของบุคคล โดยมองด้านใดด้านหนึ่งของเขาเท่านั้น
  • นำไปใช้ในการทำความเข้าใจบุคคลว่า ควรมองเขาในภาพรวม ( The Whole Person ) คือ การศึกษาคุณลักษณะต่างๆ ของบุคคลกับความมีเหตุผล ไม่ตัดสินความดีความชั่ว ของบุคคล โดยมองด้านใดด้านหนึ่งของเขาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น